
เด็กคนหนึ่งจะโตมาเป็นผู้ใหญ่แบบไหน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่เขาโตมา โดยเฉพาะปัจจัยการเลี้ยงดู เป็นข้อเท็จจริงอย่างแน่นอนว่า หากเขาได้รับการเลี้ยงดูที่อบอุ่น ตอบสนองความต้องการ ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย เด็กคนนั้นคงโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่ไร้ซึ่งบาดแผลกายและจิตใจ
ในทางกลับกัน หากเขาถูกเลี้ยงดูด้วยการควบคุม บังคับ หรือใช้การลงโทษ แน่นอนว่าเด็กคนนั้นอาจโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่เต็มไปด้วยบาดแผล หรืออาจเป็นผู้ใหญ่ที่มีคาแรกเตอร์เผด็จการในตัว (Authoritarian character)
ซึ่งความสัมพันธ์ในครอบครัวที่คอยตอบสนองซึ่งกันและกันตั้งแต่เด็กจนถึงวัยรุ่น (Mutually responsive parent – child relationship) จะช่วยส่งเสริมให้เด็กมีทักษะการเข้าสังคมที่ดี โดยเฉพาะรู้จักวิธีต่อรองและตอบโต้อย่างสร้างสรรค์ รู้จักยืดหยุ่น และมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
ส่วนการเลี้ยงดูที่ทำให้เด็กรู้สึกทุกข์และไม่ปลอดภัย จากงานวิจัยของ Snonkoff (2012) ระบุว่า ปัจจัยความเครียดในวัยเด็กส่งผลกระทบต่อพัฒนาการพวกเขา เช่นเดียวกับงานวิจัยของ Lanius (2010) และของ Van Der Kolk (2014) ที่ระบุว่า ประสบการณ์เลวร้ายจะถูกบันทึกไว้ในเซลล์ประสาท ถูกดึงมาใช้เมื่อเจอการกระตุ้น เป็นกลไกป้องกันตัวเอง โดยเกิดในรูปแบบของปม (trauma) และเมื่อต้องเผชิญกับความเครียด ส่วนใหญ่มักตอบสนองด้วยการ freezing คือ ภาวะสมองถูกแช่งแข็ง ไม่สู้ หรือหนี ซึ่งลักษณะเช่นนี้สามารถพบได้ในกลุ่มสิ่งมีชีวิตตระกูล Hominidae (หรือวงศ์ลิงใหญ่ (Great ape) หนึ่งในบรรพบุรุษของมนุษย์)
อย่างไรก็ตามในสายพันธุ์มนุษย์ พวกเรามีการพัฒนาความสัมพันธ์ในครอบครัวให้มีความเท่าเทียม และรู้จักการดูแลตอบสนองอย่างเต็มที่ บุคลิกภาพประชาธิปไตยจะเกิดกับเด็กที่มีสุขภาพดี ได้รับการเลี้ยงดูตามลักษณะธรรมชาติของมนุษย์ ต่างจากเด็กที่มีบุคลิกภาพเผด็จการจะเกิดจากวัยเด็กที่ผ่านการเลี้ยงดูแบบรุนแรง ขัดต่อธรรมชาติมนุษย์
Cr อ่านบทความ https://thepotential.org/knowledge/democracy-vs-dictatorship/