หากผู้ใหญ่ไม่เป็นต้นแบบที่ดี ส่งสัญญาณการใช้ความรุนแรงในวิถีชีวิตโดยทั่วไป ก็เท่ากับ
ปลูกฝังวัฒนธรรมความรุนแรงในสังคม
เรียกร้องให้ผู้ใหญ่เป็นต้นแบบการใช้ความอดทน

#ใช้สติและสันติวิธีแก้ปัญหา
โดย รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี
การที่ผู้แทนปวงชนชาวไทย หรือผู้ใหญ่ในสังคม แสดงออกถึงการใช้ความรุนแรงแม้แต่กับตนเอง เป็นพฤติกรรมที่ไม่สมควรทำอย่างยิ่ง เพราะเป็นส่งสัญญาณเชิงสัญญลักษณ์ให้สังคมใช้ความรุนแรง
เกิดพฤติกรรม 4 ประเภท คือ ลอกเลียนแบบ หวาดระแวง นิยมใช้ความรุนแรงตัดสิน และการลดความเมตตาเอื้ออาทรต่อกัน
ขอเรียกร้องให้ผู้ใหญ่เป็นต้นแบบ การใช้ความอดทน แก้ปัญหาด้วยสติ และสันติวิธี ไม่ใช้อารมณ์และพฤติกรรมความรุนแรง ต่อทั้งตนเองและผู้อื่น
การเรียนรู้เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกหรือพฤตินิสัย
มีระดับความเข้มข้น อยู่ 5 ระดับ
1.ระดับที่อ่อนแอที่สุด คือการเรียนรู้ผ่านการท่องจำ ซึ่งมีน้ำหนักปลูกฝังได้เพียง 10%
(เป็นวิธีที่ผู้ใหญ่ชอบใช้เพื่อหวังผล)
2.ระดับที่พอใช้ ที่เกิดจากการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ เป็นงานโครงการ กิจกรรม ซึ่งมีพลังในการปลูกฝังได้ ประมาณ 30% (ซึ่งปัจจุบันหลายงานก็ใช้กันมากขึ้น)
3.ระดับดี ที่เป็นการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำเป็นประจำ ที่เรียกว่าไม่ใช่แค่เป็นโครงงานหรือกิจกรรมเท่านั้น หากแต่ลงมือทำเป็นกิจวัตรสม่ำเสมอ จะมีผลต่อการปลูกฝัง 50% ขึ้นไป
4.ระดับดีมาก เป็นการเรียนรู้ผ่านการซึมซาบ ที่เรียกว่า วิถีชีวิต ที่แม้แต่ในบ้าน ในชุมชนปฏิบัติต่อกัน ไม่ใช่เพียงแค่กิจวัตรของคนนั้นเท่านั้น แต่เป็นวิถีชีวิตผู้คนโดยส่วนใหญ่ Learning by Feeling ซึ่งมีผลในการปลูกฝังได้ 70% ขึ้นไป (พัฒนาขึ้นเป็นวัฒนธรรมในใจคน)
5.ระดับยอดเยี่ยม เป็นการเรียนรู้ ผ่านวิถีชีวิต ที่จะถูกทดสอบฟันฝ่าผ่านปัญหาอุปสรรค ความท้าทาย และวิกฤติ เป็นเครื่องพิสูจน์ พลังความเข้มข้นในการดำรงตน ซึ่งขั้นนี้ เป็นสุดยอดที่ใช้คำว่าปลูกฝังได้สำเร็จ ชั่วชีวิตนั่นเอง
เราจะวนloop ความล้มเหลว ซ้ำซากกันไปทำไม ครับ
ใช้สติและสันติ เพื่อสังคมที่อยู่เย็นร่วมกัน #ปลูกฝังแบบใหม่แนวใหม่ที่วันนี้ผู้ใหญ่ทุกคนต้องร่วมกันรับผิดสร้างพฤตินิสัยที่ดี ในตนเองและ
#ร่วมกันสร้างพฤตินิเวศน์ที่ดีเช่นกัน
ในที่สุดเราจะปลูกฝังวัฒนธรรมที่ดีงามร่วมสมัยกับทุกๆรุ่นสำเร็จ
บทความนี้โดย
รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี
ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
เพจ #บันทึกหมอเดว
28/10/63